สืบสานศิลปวัฒนธรรมอัตลักษณ์ท้องถิ่นคงอยู่สืบไป !!! ร่วมเวลากว่า 30 ปีผ่านมา ของผ้าปาเต๊ะสุไหงโก-ลก ประวัติศาสตร์ ศิลปะบนผืนผ้า!! ผ้าบาติกหรือผ้าปาเต๊ะ เป็นคำที่เรียกผ้าชนิดที่มีการทำโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสี และใช้วิธีการแต้ม ระบาย หรือย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี ผ้าบาติกบางชิ้นอาจจะผ่านขั้นตอนการปิดเทียน แต้มสี ระบายสี และย้อมสีนับสิบๆครั้ง ส่วนผ้าบาติกอย่างง่ายอาจทำโดยการเขียนเทียนหรือพิมพ์เทียน แล้วจึงนำไปย้อมสีที่ต้องการ คำว่าบาติก” ( Batik) หรือ ปาเต๊ะ” ( Batek) มาจากคำว่า Ba = Art และ Tik = จุด เดิมเป็นคำในภาษาชวา ใช้เรียกผ้าที่มีลวดลายเป็นจุด คำว่า ติกมีความหมายว่า เล็กน้อยหรือจุดเล็กๆมีความหมายเช่นเดียวกับ คำว่า ตริติก หรือตาริติก ดังนั้นคำว่า บาติก จึงมีความหมายว่าเป็นงานศิลปะบนผ้าที่มีลวดลายเป็นจุดด่างๆ วิธีการทำผ้าบาติกในสมัยดั้งเดิมใช้วิธีการเขียนด้วยเทียน (Wax writing /Wax hand draw) ดังนั้น ผ้าบาติกจึงเป็นลักษณะผ้าที่มีวิธีการผลิตโดยใช้เทียนปิดในส่วนที่ไม่ต้อง การให้ติดสี และใช้วิธีระบาย แต้มและย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี แม้ว่าวิธีการทำผ้าบาติกในปัจจุบันจะก้าวหน้าไปมากแล้วก็ตามแต่ลักษณะเฉพาะ ประการหนึ่งของผ้าบาติก ก็คือ จะต้องมีวิธีการผลิตโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีหรือส่วนที่ไม่ ต้องการให้ติดสีซ้ำอีก แหล่งกำเนิด แหล่งกำเนิดของผ้าบาติกมาจากไหนยังไม่เป็นที่ยุติ นักวิชาการชาวยุโรป หลายคนเชื่อว่ามีในอินเดียก่อนแล้วจึงแพร่หลายเข้าไปในอินโดนีเซีย อีกหลายคนเชื่อว่ามาจากอียิปหรือเปอร์เซีย แม้ว่าจะได้มีการค้นพบผ้าบาติกที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศอื่นๆ ทั้งอียิป อินเดีย และญี่ปุ่น แต่บางคนก็ยังเชื่อว่า ผ้าบาติกเป็นของดั้งเดิมของอินโดนีเซีย และยืนยันว่าศัพท์เฉพาะที่เรียกวิธีการและขั้นตอนการทำผ้าบาติก เป็นศัพท์ภาษาอินโดนีเซีย สีที่ใช้ย้อมก็เป็นพืชที่มีในประเทศอินโดนีเซีย แท่งขี้ผึ้งที่ใช้เขียนลายก็เป็นของอินโดนีเซีย ไม่เคยมีในอินเดียเลย เทคนิคที่ใช้ในอินโดนีเซียสูงกว่าที่ทำกันในอินเดีย และจากการศึกษาค้นคว้าของ N.J. Kron นักประวัติศาสตร์ชาวดัทช์ ก็สรุปไว้ว่าการทำโสร่งบาติกหรือโสร่งปาเต๊ะ เป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อนติดต่อกับอินเดีย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ได้ทรงนิพนธ์ไว้ในหนังสือบุหงารำไป หน้า 1ไว้ว่า แม้ว่าจะมีการค้นพบลักษณะผ้าบาติกในดินแดนอื่นๆ นอกจากอินโดนีเซีย แต่ก็คงเป็นลักษณะเฉพาะท้องถิ่น วิธีการปลีกย่อยจะแตกต่างกัน ตามวิธีการทำผ้าของชาติต่างๆ ที่จะให้มีลวดลายสีสันผ้าบาติกของอินโดนีเซียก็น่าจะ มีกำเนิดในอินโดนีเซียเอง คงไม่ได้รับการถ่ายทอดจากชาติอื่นๆส่วนการทำผ้าโปร่งบาติกนั้นคงมีกำเนิดจาก อินโดนีเซีย ค่อนข้างแน่นอน วิวัฒนาการการทำผ้าบาติกในอินโดนีเซีย การทำผ้าบาติกในระยะเวลาแรกคงทำกันเฉพาะในหมู่ชนชั้นสูง หรือทำเฉพาะในวัง แต่ก็มีผู้ให้ความเห็นขัดแย้งว่า น่าจะเป็นศิลปะพื้นบ้านใช้กันเป็นสามัญ ผู้ที่ทำผ้าบาติกมักจะเป็นผู้หญิงและทำหลังจากว่างจากการทำนา ในคริสต์ศวรรษที่ 12 ประชาชนชวาได้ปรับปรุงวิธีการทำผ้าบาติกด้านการแก้ไขวิธีการผสมสี แต่ทั้งนี้ก็วิวัฒนาการมาจากความรู้ดั้งเดิม ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 การทำผ้าบาติกผูกขาดโดยสุลต่านและถือว่าการทำผ้าบาติกเป็นศิลปะในราชสำนัก โดยมีสตรีในราชสำนักเป็นผู้ผลิต ผ้าบาติกในยุคนี้เรียกว่า คราทอน”( Karton) เป็นผ้าบาติกที่เขียนด้วยมือ( Batik Tulis ) แต่เมื่อผ้าบาติกได้รับความนิยมมากขึ้นและมีลูกค้ามากมาย การทำผ้าบาติกได้ขยายวงกว้าง มากขึ้นการผูกขาดโดยครอบครัวสุลต่านก็สิ้นสุดลงศิลปะการทำผ้าบาติก ได้แพร่หลายไปสู่ประชาชนทั่วไป ผ้าบาติกในระยะแรกมีเพียงสีครามและสีขาว ในศตวรรษที่ 17 ได้มีการค้นพบสีต่างๆอีก เช่น สีแดง สีน้ำตาล สีเหลือง สีต่างๆ เหล่านี้ได้มาจากพืชทั้งสิ้น ต่อมาก็รู้จักผสมสีเหล่านี้ทำให้ออกมาเป็นสีต่างๆ ภายหลังจึงมีการค้นพบสีม่วง สีเขียว และสีอื่นๆ อีกในระยะปลายศตวรรษที่ 17 ได้มีการสั่งผ้าลินินสีขาวจากต่างประเทศเข้ามา นับเป็นความก้าวหน้าในการทำผ้าบาติกอีกก้าวหนึ่งโดยเฉพาะเทคนิคการระบายสี ผ้าบาติก เพราะเริ่มมีการใช้สีเคมีในการย้อมการระบายสี ซึ่งสามารถทำให้ผลิตผ้าบาติได้จำนวนมากขึ้นและได้พัฒนาระบบธุรกิจผ้าบาติกจน กลายเป็นสินค้าออกในปี ค.ศ. 1830 ชาวยุโรปได้เลียนแบบผ้าบาติกของชวาและได้ส่งมาจำหน่ายที่เกาะชวาในปี ค.ศ. 1940 ชาวอังกฤษก็ได้พยายามเลียนแบบให้ดียิ่งขึ้น เพื่อส่งมาจำหน่ายที่เกาะชวาเช่นเดียวกัน ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ได้มีการทำเครื่องหมายในการพิมพ์ผ้าบาติกโดยทำเป็นแม่พิมพ์โลหะทองแดง ซึ่งเรียกว่า จั๊บ”(Cap) ทำให้สามารถผลิตผ้าบาติกได้รวดเร็วขึ้น ต้นทุนก็ถูกลงทดแทนผ้าบาติกลายเขียนแบบดั้งเดิม การทำผ้าบาติกด้วยแม่พิมพ์ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์พื้นเมืองในลักษณะของ อุตสาหกรรมในครัวเรือน ประชาชนก็เริ่มทำผ้าบาติกเป็นอาชีพมากขึ้น การผลิตผ้าบาติกจากเดิมที่เคยใช้ฝีมือสตรีแต่เพียงฝ่ายเดียว เริ่มมีผู้ชายเข้ามาช่วยในกระบวนการผลิตโดยเฉพาะการพิมพ์เทียนและการย้อมสี สำหรับการแต้มสีลวดลายยังใช้ฝีมือสตรี เช่นเดิม ความนิยมในการใช้ผ้าบาติกโดยเกาะชวา เมื่อก่อนใช้กันเฉพาะสตรีและเด็กเท่านั้น ต่อมาได้ใช้เป็น เครื่องแต่งกายของหนุ่มสาวมี 3 ชนิด คือ 1.โสร่ง (Sarong) เป็นผ้าที่ใช้นุ่ง โดยการพันรอบตัว ขนาดของผ้าโสร่งโดยทั่วไปนิยมผ้าหน้ากว้าง 42 นิ้ว ยาว 2 หลาครึ่ง ถึง 3 หลาครึ่ง ผ้าโสร่งมีลักษณะพิเศษคือ ส่วนที่เรียกว่า ปาเต๊ะหมายถึง ส่วนที่เรียกว่า หัวผ้า โดยมีลวดลาย สีสันแปลกต่างไปจากส่วนอื่นๆในผ้าผืนเดียวกัน 2. สลินดัง (Salindang) เป็นผ้าซึ่งใช้นุ่งทับกางเกงของบุรุษหรือเรียกว่า ผ้าทับเป็นผ้าที่เน้นลวดลายประดับหรือชายผ้าสลินดังมีความยาวประมาณ 3 หลา กว้างประมาณ 8 นิ้ว สตรีนิยมนำผ้าสลินดังคลุมศีรษะ 3. อุเด็ง (Udeng) หรือผ้าคลุมศีรษะ โดยทั่วไปจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ผ้าชนิดนี้สุภาพบุรุษใช้โพกศีรษะเรียกว่า ซุรบานสำหรับสตรีจะใช้ทั้งคลุมศีรษะ และปิดหน้าอกเรียกว่า เกิมเบ็น” (Kemben) ผ้าอุเด็งนิยมลวดลายที่เป็นกรอบสี่เหลี่ยม ผ้าคลุมชนิดนี้ไม่ปิดบ่าและไหล่เหมาะสำหรับเกษตรกรที่ทำงานหนักเพื่อจะได้ เคลื่อนไหวได้สะดวก สำหรับผ้าสลินดัง ภายหลังได้ทำขนาดให้ยาวขึ้นโดยใช้ผ้าหน้ากว้าง 42 นิ้ว ยาว 4-5 หลา ต่อมาได้มีการดัดแปลงเป็นเครื่องแต่งกายอื่นๆ ได้มีการใช้ผ้าบาติกนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางทั้งบุรุษ สตรี เด็ก ที่ได้พยายามปรับปรุงและพัฒนาการทำผ้าบาติกให้มีความก้าวหน้าไปพร้อมๆ กับการพัฒนาการด้านอื่นๆ จนกลายเป็นสินค้าที่ถูกใจ ต่างชาติได้จัดจำหน่ายเป็นสินค้าออก ซึ่งทำให้ผ้าบาติกและเทคนิคการทำผ้าบาติกแพร่หลายออกไปสู่ประเทศอื่นๆ อย่างกว้างขวาง ในประเทศไทยได้มีการทำผ้าบาติกลายพิมพ์เทียนมาก่อนในปี พ.ศ. 2483 ที่อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส โดยสองสามี-ภรรยาชาวไทยเชื้อสายมลายูชื่อ นายแวมะ แวอาลี และ นางแวเย๊าะ แวอาแด ในยุคแรกได้ผลิตเป็นผ้าคลุมหัวสไบไหล่(Kain lepas)โดยใช้วิธีแกะสลักลวดลายบนมันเทศและมันสำปะหลังมาทำเป็นแม่พิมพ์ ต่อมาได้ผลิตในรูปแบบของผ้าโสร่งปาเต๊ะ(Batik Sarong)โดยใช้แม่พิมพ์โลหะที่ผลิตในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันโดยเฉพาะในแถบ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ต่อมาภายหลัง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมได้เข้ามามีบทบาทส่งเสริมและเผยแพร่การทำผ้าบาติกพื้นฐาน ตามแนวเทคนิคของกรมส่งเสริมฯ ซึ่งส่วนใหญ่มักนิยมใช้โซดาแอสเป็นสารกันสีตก ทางภาคเหนือของไทยได้มีการทำผ้าบาติกมานาน จะรู้จักในนามผ้าบาติกใยกัญชาย้อมด้วยสีอินดิโก้ เพียงสีเดียวโดยฝีมือของชาวเขาเผ่าม้งในภาคเหนือ ซึ่งเข้าใจว่าน่าจะได้รับอิทธิพลศิลปะบาติกจากประเทศจีนตอนใต้ ปลายปี พ.ศ. 2523 ประเทศไทยได้กำเนิด ผ้าบาติกลายเขียนระบายสี” (Painting Batik)ซึ่ง เป็นผ้าติกที่เขียนลายเทียนด้วยจันติ้ง (Cantimg) ระบายสีลวดลายบนผืนผ้าทั้งผืนด้วยพู่กัน ไม่มีการย้อมสีโดยใช้สี REACTIVE DYES จากประเทศมาเลเซีย ผลิตในเยอรมันแล้วเคลือบกันสีตกด้วยโซเดียมซิลิเกตเป็นสารกันสีตกแบบถาวร โดย นายเอกสรรค์ อังคารวัลย์ เป็นคนแรกที่ได้นำวิธิการทำผ้าบาติกแบบระบายมาเผยแพร่วิธีการทำผ้าบาติกแนว ใหม่นี้ โดยศึกษามาจากประเทศมาเลเซีย และได้แพร่เป็นวิทยาธารเพื่อการศึกาครั้งแรกแก่คณาจารย์ภาควิชาศิลปะ คณะวิชามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยครูยะลา(ผศ.นันทา โรจนอุดมศาสตร์ เป็นหัวหน้าภาควิชาในขณะนั้น) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ได้มีการสอนการทำผ้าบาติกแก่นักศึกษาวิทยาลัยครูยะลาในเรื่องบาติกลายเขียนและบาติกย้อมสี พ.ศ. 2524 วิทยาลัยครูยะลาได้เริ่มทดลองทำผ้าบาติกลายเขียนระบายสี และสอนการทำผ้าบาติกเป็นกิจกรรมในรายวิชาเลือกของหลักสูตร ปกส.สูง วิชาเอกศิลปกรรม พ.ศ. 2525 สอนการทำผ้าบาติกในรายวิชาศิลปะพื้นบ้าน ในระดับปริญญาตรีศิลปศึกษา และได้ทำการสอนต่อมาในรายวิชาบาติก วิชาเอกออกแบบประยุกต์ศิลป์ ระดับอนุปริญญาจนถึงปัจจุบัน วิทยาลัยครูยะลาได้ทำการเผยแพร่ความรู้ทางด้านบาติแก่ชุมชน โดยเขียนเป็นบทความลงหนังสือพิมพ์ วารสาร และทางสถานีโทรทัศน์ นอกจากนี้ ยังมีการจัดอบรมและจัดนิทรรศการเผยแพร่ การทำผ้าบาติกทั้งลายเขียนและลายพิมพ์ ตามช่วงระยะเวลาดังนี้ กันยายน พ.ศ. 2527 ร่วมแสดงนิศการผ้าบาติก และสาธิตในงาน กระจูดณ จังหวัดนราธิวาส จัดโดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นการแสดงเทคนิคการทำบาติกลายเขียนเทียนระบายสี ต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก เมษายน พ.ศ. 2528 ร่วมจัดนิทรรศการและสาธิตการทำผ้าบาติกลายเขียนเทียนระบายสีและบาติกลาย พิมพ์ ในงานศิลปวัฒธรรมพื้นบ้านทั่วประเทศ ณ จังหวัดภูเก็ต(เป็นช่วงเวลาที่บาติกลายเขียนเทียนเริ่มเข้าจังหวัดภูเก็ต เป็นครั้งแรก โดยมี อ.ชูชาต ระวิจันทร์(ลุงชู) อาจารย์หัวหน้าคณะภาควิชาเอกศิลปกรรม วิทยาลัยครูภูเก็ตขณะนั้นเป็นผู้สืบสานต่อในจังหวัดแถบทะเลอันดามัน พฤษภาคม พ.ศ. 2529 ร่วมจัดนิทรรศการ และสาธิตการทำผ้าบาติกลายเขียนเทียนระบายสี ในงานมหกรรม ศิลปวัฒนธรรมทั่วประเทศ ณ วิทยาลัยครูเชียงใหม่ พ.ศ. 2531 ร่วมจัดนิทรรศการ และสาธิตการทำผ้าบาติกลายเขียนเทียนระบายสี ณ สวนอัมพร กรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ยังได้เดินทางไปจัดนิทรรศการ และสาธิตในกรุงมหานครอีกหลายครั้ง อันมีผลทำให้บาติกลายเขียนเทียนระบายสีเผยแพร่ไปอย่างรวดเร็ว และเป็นที่นิยมแพร่หลายไปทั่วประเทศมาจนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันผ้าปาเต๊ะสุไหงโก-ลก ผลิตภัณฑ์ของเราทำขึ้นในนามชุมชนท้องถิ่น เพื่อสร้างงานสร้างรายได้ให้คนในท้องที่ได้พัฒนาความเจริญให้กับถิ่นฐานบ้านเกิด เราใช้คำว่าทีมเพราะความรักสามัคคีกลมเกลียวกันชุมชน (ชุมชนบาโงเปาะเล็ง อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส) ผลิตภัณฑ์ของเราได้รับการการันตีจากหน่วยงาน OTOP และอุตสาหกรรมจังหวัด อีกทั้งเรายังมุ่งหน้าพัฒนางานฝีมือแรงงาน แรงคนต่อไป อนุรักษ์ศาสตร์และศิลป์ให้คงอยู่สืบไป ทีมผ้าปาเต๊ะของเราปัจจุบันบริหารงานโดย คุณเจ๊ะอาแซ บินเจ๊ะอาหลี และลูกสาวคุณเจ๊ะอัสรีนา บินเจ๊ะอาหลี
สนใจติดต่อ
Facebook Page : ผ้าปาเต๊ะ-สุไหงโกลก Tell. 081-598-6409/ 080-703-4950 เราคือผู้ผลิต
ID Line.0807034950
ID Page 907108012742250
Instagram : handmade_thailand
Google Map : https://goo.gl/maps/4mESZb1N8SR2
Google Map : วิสาหกิจชุมชนผ้าปาเต๊ะบาโงเปาะเล็ง
Youtube : https://www.youtube.com/channel/UC7kCnY8dPrVbleohxdyriqg?view_as=subscriber
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UC7kCnY8dPrVbleohxdyriqg
Twitter : https://twitter.com/BatikThailand
Google+ : https://plus.google.com/u/0/collection/EAV1bB

Blogger : https://handmade-thailand.blogspot.com/






























































































































































































































































































































































































































ความคิดเห็น

ผ้าปาเต๊ะไทย

ปาเต๊ะไทยแลนด์ (ผ้าปาเต๊ะ-สุไหงโกลก) 93