สืบสานศิลปวัฒนธรรมอัตลักษณ์ท้องถิ่นคงอยู่สืบไป !!! ร่วมเวลากว่า 30 ปีผ่านมา ของผ้าปาเต๊ะ-สุไหงโกลก ประวัติศาสตร์ ศิลปะบนผืนผ้า!! ผ้าบาติกหรือผ้าปาเต๊ะ เป็นคำที่เรียกผ้าชนิดที่มีการทำโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสี และใช้วิธีการแต้ม ระบาย หรือย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี ผ้าบาติกบางชิ้นอาจจะผ่านขั้นตอนการปิดเทียน แต้มสี ระบายสี และย้อมสีนับสิบๆครั้ง ส่วนผ้าบาติกอย่างง่ายอาจทำโดยการเขียนเทียนหรือพิมพ์เทียน แล้วจึงนำไปย้อมสีที่ต้องการ คำว่า”บาติก” ( Batik) หรือ “ปาเต๊ะ” ( Batek) มาจากคำว่า Ba = Art และ Tik = จุด เดิมเป็นคำในภาษาชวา ใช้เรียกผ้าที่มีลวดลายเป็นจุด คำว่า “ติก” มีความหมายว่า เล็กน้อยหรือจุดเล็กๆมีความหมายเช่นเดียวกับ คำว่า ตริติก หรือตาริติก ดังนั้นคำว่า บาติก จึงมีความหมายว่าเป็นงานศิลปะบนผ้าที่มีลวดลายเป็นจุดด่างๆ วิธีการทำผ้าบาติกในสมัยดั้งเดิมใช้วิธีการเขียนด้วยเทียน (Wax writing /Wax hand draw) ดังนั้น ผ้าบาติกจึงเป็นลักษณะผ้าที่มีวิธีการผลิตโดยใช้เทียนปิดในส่วนที่ไม่ต้อง การให้ติดสี และใช้วิธีระบาย แต้มและย้อมในส่วนที่ต้องการให้ติดสี แม้ว่าวิธีการทำผ้าบาติกในปัจจุบันจะก้าวหน้าไปมากแล้วก็ตามแต่ลักษณะเฉพาะ ประการหนึ่งของผ้าบาติก ก็คือ จะต้องมีวิธีการผลิตโดยใช้เทียนปิดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสีหรือส่วนที่ไม่ ต้องการให้ติดสีซ้ำอีก แหล่งกำเนิด แหล่งกำเนิดของผ้าบาติกมาจากไหนยังไม่เป็นที่ยุติ นักวิชาการชาวยุโรป หลายคนเชื่อว่ามีในอินเดียก่อนแล้วจึงแพร่หลายเข้าไปในอินโดนีเซีย อีกหลายคนเชื่อว่ามาจากอียิปหรือเปอร์เซีย แม้ว่าจะได้มีการค้นพบผ้าบาติกที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดในประเทศอื่นๆ ทั้งอียิป อินเดีย และญี่ปุ่น แต่บางคนก็ยังเชื่อว่า ผ้าบาติกเป็นของดั้งเดิมของอินโดนีเซีย และยืนยันว่าศัพท์เฉพาะที่เรียกวิธีการและขั้นตอนการทำผ้าบาติก เป็นศัพท์ภาษาอินโดนีเซีย สีที่ใช้ย้อมก็เป็นพืชที่มีในประเทศอินโดนีเซีย แท่งขี้ผึ้งที่ใช้เขียนลายก็เป็นของอินโดนีเซีย ไม่เคยมีในอินเดียเลย เทคนิคที่ใช้ในอินโดนีเซียสูงกว่าที่ทำกันในอินเดีย และจากการศึกษาค้นคว้าของ N.J. Kron นักประวัติศาสตร์ชาวดัทช์ ก็สรุปไว้ว่าการทำโสร่งบาติกหรือโสร่งปาเต๊ะ เป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อนติดต่อกับอินเดีย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ได้ทรงนิพนธ์ไว้ในหนังสือบุหงารำไป หน้า 1ไว้ว่า แม้ว่าจะมีการค้นพบลักษณะผ้าบาติกในดินแดนอื่นๆ นอกจากอินโดนีเซีย แต่ก็คงเป็นลักษณะเฉพาะท้องถิ่น วิธีการปลีกย่อยจะแตกต่างกัน ตามวิธีการทำผ้าของชาติต่างๆ ที่จะให้มีลวดลายสีสันผ้าบาติกของอินโดนีเซียก็น่าจะ มีกำเนิดในอินโดนีเซียเอง คงไม่ได้รับการถ่ายทอดจากชาติอื่นๆส่วนการทำผ้าโปร่งบาติกนั้นคงมีกำเนิดจาก อินโดนีเซีย ค่อนข้างแน่นอน วิวัฒนาการการทำผ้าบาติกในอินโดนีเซีย การทำผ้าบาติกในระยะเวลาแรกคงทำกันเฉพาะในหมู่ชนชั้นสูง หรือทำเฉพาะในวัง แต่ก็มีผู้ให้ความเห็นขัดแย้งว่า น่าจะเป็นศิลปะพื้นบ้านใช้กันเป็นสามัญ ผู้ที่ทำผ้าบาติกมักจะเป็นผู้หญิงและทำหลังจากว่างจากการทำนา ในคริสต์ศวรรษที่ 12 ประชาชนชวาได้ปรับปรุงวิธีการทำผ้าบาติกด้านการแก้ไขวิธีการผสมสี แต่ทั้งนี้ก็วิวัฒนาการมาจากความรู้ดั้งเดิม ในคริสต์ศตวรรษที่ 13 การทำผ้าบาติกผูกขาดโดยสุลต่านและถือว่าการทำผ้าบาติกเป็นศิลปะในราชสำนัก โดยมีสตรีในราชสำนักเป็นผู้ผลิต ผ้าบาติกในยุคนี้เรียกว่า “คราทอน”( Karton) เป็นผ้าบาติกที่เขียนด้วยมือ( Batik Tulis ) แต่เมื่อผ้าบาติกได้รับความนิยมมากขึ้นและมีลูกค้ามากมาย การทำผ้าบาติกได้ขยายวงกว้าง มากขึ้นการผูกขาดโดยครอบครัวสุลต่านก็สิ้นสุดลงศิลปะการทำผ้าบาติก ได้แพร่หลายไปสู่ประชาชนทั่วไป ผ้าบาติกในระยะแรกมีเพียงสีครามและสีขาว ในศตวรรษที่ 17 ได้มีการค้นพบสีต่างๆอีก เช่น สีแดง สีน้ำตาล สีเหลือง สีต่างๆ เหล่านี้ได้มาจากพืชทั้งสิ้น ต่อมาก็รู้จักผสมสีเหล่านี้ทำให้ออกมาเป็นสีต่างๆ ภายหลังจึงมีการค้นพบสีม่วง สีเขียว และสีอื่นๆ อีกในระยะปลายศตวรรษที่ 17 ได้มีการสั่งผ้าลินินสีขาวจากต่างประเทศเข้ามา นับเป็นความก้าวหน้าในการทำผ้าบาติกอีกก้าวหนึ่งโดยเฉพาะเทคนิคการระบายสี ผ้าบาติก เพราะเริ่มมีการใช้สีเคมีในการย้อมการระบายสี ซึ่งสามารถทำให้ผลิตผ้าบาติได้จำนวนมากขึ้นและได้พัฒนาระบบธุรกิจผ้าบาติกจน กลายเป็นสินค้าออกในปี ค.ศ. 1830 ชาวยุโรปได้เลียนแบบผ้าบาติกของชวาและได้ส่งมาจำหน่ายที่เกาะชวาในปี ค.ศ. 1940 ชาวอังกฤษก็ได้พยายามเลียนแบบให้ดียิ่งขึ้น เพื่อส่งมาจำหน่ายที่เกาะชวาเช่นเดียวกัน ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ได้มีการทำเครื่องหมายในการพิมพ์ผ้าบาติกโดยทำเป็นแม่พิมพ์โลหะทองแดง ซึ่งเรียกว่า “จั๊บ”(Cap) ทำให้สามารถผลิตผ้าบาติกได้รวดเร็วขึ้น ต้นทุนก็ถูกลงทดแทนผ้าบาติกลายเขียนแบบดั้งเดิม การทำผ้าบาติกด้วยแม่พิมพ์ก่อให้เกิดผลิตภัณฑ์พื้นเมืองในลักษณะของ อุตสาหกรรมในครัวเรือน ประชาชนก็เริ่มทำผ้าบาติกเป็นอาชีพมากขึ้น การผลิตผ้าบาติกจากเดิมที่เคยใช้ฝีมือสตรีแต่เพียงฝ่ายเดียว เริ่มมีผู้ชายเข้ามาช่วยในกระบวนการผลิตโดยเฉพาะการพิมพ์เทียนและการย้อมสี สำหรับการแต้มสีลวดลายยังใช้ฝีมือสตรี เช่นเดิม ความนิยมในการใช้ผ้าบาติกโดยเกาะชวา เมื่อก่อนใช้กันเฉพาะสตรีและเด็กเท่านั้น ต่อมาได้ใช้เป็น เครื่องแต่งกายของหนุ่มสาวมี 3 ชนิด คือ 1.โสร่ง (Sarong) เป็นผ้าที่ใช้นุ่ง โดยการพันรอบตัว ขนาดของผ้าโสร่งโดยทั่วไปนิยมผ้าหน้ากว้าง 42 นิ้ว ยาว 2 หลาครึ่ง ถึง 3 หลาครึ่ง ผ้าโสร่งมีลักษณะพิเศษคือ ส่วนที่เรียกว่า ”ปาเต๊ะ” หมายถึง ส่วนที่เรียกว่า หัวผ้า โดยมีลวดลาย สีสันแปลกต่างไปจากส่วนอื่นๆในผ้าผืนเดียวกัน 2. สลินดัง (Salindang) เป็นผ้าซึ่งใช้นุ่งทับกางเกงของบุรุษหรือเรียกว่า “ผ้าทับ” เป็นผ้าที่เน้นลวดลายประดับหรือชายผ้าสลินดังมีความยาวประมาณ 3 หลา กว้างประมาณ 8 นิ้ว สตรีนิยมนำผ้าสลินดังคลุมศีรษะ 3. อุเด็ง (Udeng) หรือผ้าคลุมศีรษะ โดยทั่วไปจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ผ้าชนิดนี้สุภาพบุรุษใช้โพกศีรษะเรียกว่า ”ซุรบาน”สำหรับสตรีจะใช้ทั้งคลุมศีรษะ และปิดหน้าอกเรียกว่า ”เกิมเบ็น” (Kemben) ผ้าอุเด็งนิยมลวดลายที่เป็นกรอบสี่เหลี่ยม ผ้าคลุมชนิดนี้ไม่ปิดบ่าและไหล่เหมาะสำหรับเกษตรกรที่ทำงานหนักเพื่อจะได้ เคลื่อนไหวได้สะดวก สำหรับผ้าสลินดัง ภายหลังได้ทำขนาดให้ยาวขึ้นโดยใช้ผ้าหน้ากว้าง 42 นิ้ว ยาว 4-5 หลา ต่อมาได้มีการดัดแปลงเป็นเครื่องแต่งกายอื่นๆ ได้มีการใช้ผ้าบาติกนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางทั้งบุรุษ สตรี เด็ก ที่ได้พยายามปรับปรุงและพัฒนาการทำผ้าบาติกให้มีความก้าวหน้าไปพร้อมๆ กับการพัฒนาการด้านอื่นๆ จนกลายเป็นสินค้าที่ถูกใจ ต่างชาติได้จัดจำหน่ายเป็นสินค้าออก ซึ่งทำให้ผ้าบาติกและเทคนิคการทำผ้าบาติกแพร่หลายออกไปสู่ประเทศอื่นๆ อย่างกว้างขวาง ในประเทศไทยได้มีการทำผ้าบาติกลายพิมพ์เทียนมาก่อนในปี พ.ศ. 2483 ที่อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส โดยสองสามี-ภรรยาชาวไทยเชื้อสายมลายูชื่อ นายแวมะ แวอาลี และ นางแวเย๊าะ แวอาแด ในยุคแรกได้ผลิตเป็นผ้าคลุมหัวสไบไหล่(Kain lepas)โดยใช้วิธีแกะสลักลวดลายบนมันเทศและมันสำปะหลังมาทำเป็นแม่พิมพ์ ต่อมาได้ผลิตในรูปแบบของผ้าโสร่งปาเต๊ะ(Batik Sarong)โดยใช้แม่พิมพ์โลหะที่ผลิตในรัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันโดยเฉพาะในแถบ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย ต่อมาภายหลัง กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมได้เข้ามามีบทบาทส่งเสริมและเผยแพร่การทำผ้าบาติกพื้นฐาน ตามแนวเทคนิคของกรมส่งเสริมฯ ซึ่งส่วนใหญ่มักนิยมใช้โซดาแอสเป็นสารกันสีตก ทางภาคเหนือของไทยได้มีการทำผ้าบาติกมานาน จะรู้จักในนามผ้าบาติกใยกัญชาย้อมด้วยสีอินดิโก้ เพียงสีเดียวโดยฝีมือของชาวเขาเผ่าม้งในภาคเหนือ ซึ่งเข้าใจว่าน่าจะได้รับอิทธิพลศิลปะบาติกจากประเทศจีนตอนใต้ ปลายปี พ.ศ. 2523 ประเทศไทยได้กำเนิด “ผ้าบาติกลายเขียนระบายสี” (Painting Batik)ซึ่ง เป็นผ้าติกที่เขียนลายเทียนด้วยจันติ้ง (Cantimg) ระบายสีลวดลายบนผืนผ้าทั้งผืนด้วยพู่กัน ไม่มีการย้อมสีโดยใช้สี REACTIVE DYES จากประเทศมาเลเซีย ผลิตในเยอรมันแล้วเคลือบกันสีตกด้วยโซเดียมซิลิเกตเป็นสารกันสีตกแบบถาวร โดย นายเอกสรรค์ อังคารวัลย์ เป็นคนแรกที่ได้นำวิธิการทำผ้าบาติกแบบระบายมาเผยแพร่วิธีการทำผ้าบาติกแนว ใหม่นี้ โดยศึกษามาจากประเทศมาเลเซีย และได้แพร่เป็นวิทยาธารเพื่อการศึกาครั้งแรกแก่คณาจารย์ภาควิชาศิลปะ คณะวิชามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ วิทยาลัยครูยะลา(ผศ.นันทา โรจนอุดมศาสตร์ เป็นหัวหน้าภาควิชาในขณะนั้น) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 ได้มีการสอนการทำผ้าบาติกแก่นักศึกษาวิทยาลัยครูยะลาในเรื่องบาติกลายเขียนและบาติกย้อมสี พ.ศ. 2524 วิทยาลัยครูยะลาได้เริ่มทดลองทำผ้าบาติกลายเขียนระบายสี และสอนการทำผ้าบาติกเป็นกิจกรรมในรายวิชาเลือกของหลักสูตร ปกส.สูง วิชาเอกศิลปกรรม พ.ศ. 2525 สอนการทำผ้าบาติกในรายวิชาศิลปะพื้นบ้าน ในระดับปริญญาตรีศิลปศึกษา และได้ทำการสอนต่อมาในรายวิชาบาติก วิชาเอกออกแบบประยุกต์ศิลป์ ระดับอนุปริญญาจนถึงปัจจุบัน วิทยาลัยครูยะลาได้ทำการเผยแพร่ความรู้ทางด้านบาติแก่ชุมชน โดยเขียนเป็นบทความลงหนังสือพิมพ์ วารสาร และทางสถานีโทรทัศน์ นอกจากนี้ ยังมีการจัดอบรมและจัดนิทรรศการเผยแพร่ การทำผ้าบาติกทั้งลายเขียนและลายพิมพ์ ตามช่วงระยะเวลาดังนี้ กันยายน พ.ศ. 2527 ร่วมแสดงนิศการผ้าบาติก และสาธิตในงาน “กระจูด” ณ จังหวัดนราธิวาส จัดโดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นการแสดงเทคนิคการทำบาติกลายเขียนเทียนระบายสี ต่อสาธารณชนเป็นครั้งแรก เมษายน พ.ศ. 2528 ร่วมจัดนิทรรศการและสาธิตการทำผ้าบาติกลายเขียนเทียนระบายสีและบาติกลาย พิมพ์ ในงานศิลปวัฒธรรมพื้นบ้านทั่วประเทศ ณ จังหวัดภูเก็ต(เป็นช่วงเวลาที่บาติกลายเขียนเทียนเริ่มเข้าจังหวัดภูเก็ต เป็นครั้งแรก โดยมี อ.ชูชาต ระวิจันทร์(ลุงชู) อาจารย์หัวหน้าคณะภาควิชาเอกศิลปกรรม วิทยาลัยครูภูเก็ตขณะนั้นเป็นผู้สืบสานต่อในจังหวัดแถบทะเลอันดามัน พฤษภาคม พ.ศ. 2529 ร่วมจัดนิทรรศการ และสาธิตการทำผ้าบาติกลายเขียนเทียนระบายสี ในงานมหกรรม ศิลปวัฒนธรรมทั่วประเทศ ณ วิทยาลัยครูเชียงใหม่ พ.ศ. 2531 ร่วมจัดนิทรรศการ และสาธิตการทำผ้าบาติกลายเขียนเทียนระบายสี ณ สวนอัมพร กรุงเทพมหานคร นอกจากนี้ยังได้เดินทางไปจัดนิทรรศการ และสาธิตในกรุงมหานครอีกหลายครั้ง อันมีผลทำให้บาติกลายเขียนเทียนระบายสีเผยแพร่ไปอย่างรวดเร็ว และเป็นที่นิยมแพร่หลายไปทั่วประเทศมาจนถึงปัจจุบัน
ปัจจุบันผ้าปาเต๊ะสุไหงโก-ลก ผลิตภัณฑ์ของเราทำขึ้นในนามชุมชนท้องถิ่น เพื่อสร้างงานสร้างรายได้ให้คนในท้องที่ได้พัฒนาความเจริญให้กับถิ่นฐานบ้านเกิด เราใช้คำว่าทีมเพราะความรักสามัคคีกลมเกลียวกันชุมชน (ชุมชนบาโงเปาะเล็ง อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส) ผลิตภัณฑ์ของเราได้รับการการันตีจากหน่วยงาน OTOP และอุตสาหกรรมจังหวัดสงขลา อีกทั้งเรายังมุ่งหน้าพัฒนางานฝีมือแรงงาน แรงคนต่อไป อนุรักษ์ศาสตร์และศิลป์ให้คงอยู่สืบไป ทีมผ้าปาเต๊ะของเราปัจจุบันบริหารงานโดย คุณเจ๊ะอาแซ บินเจ๊ะอาหลี และลูกสาวคุณเจ๊ะอัสรีนา บินเจ๊ะอาหลี
สนใจติดต่อ
Facebook Page : ผ้าปาเต๊ะ-สุไหงโกลก Tell. 081-598-6409/ 080-703-4950 เราคือผู้ผลิต
ID Line.0807034950
ID Page 907108012742250
Instagram : handmade_thailand
Google Map : วิสาหกิจชุมชนผ้าปาเต๊ะบาโงเปาะเล็ง
Youtube : https://www.youtube.com/channel/UC7kCnY8dPrVbleohxdyriqg?view_as=subscriber
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UC7kCnY8dPrVbleohxdyriqg
The art of culture and local identity is still here! For over 30 years, History Art on the cloth !! Batik or cloth It is a term used to make fabrics that are made using candles. And use the way to paint or dye in the desired color. Some batikers may go through the process of turning off candles, tinting, dyeing and dyeing dozens of times. Simple batik elements can be made by writing candles or candles. The word "Batik" or "bachata" (Batek) comes from the word Ba = Art and Tik = the original place is a word in Javanese. The fabric that is patterned is the point that "the word" means. Small or small, meaning the same as the word tic or tattoos, so the word batik is meant to be a work of art on patterned fabrics. The traditional batik method uses Wax writing / Wax hand draw, so batik is a fabric that is manufactured using a candle-free method. How to drain. Point and dye in the desired color. Although today's batik approach is progressing, One of the batik's is to have a way to produce a candle off the part that does not need to be stained or not. The color of the batik origin is still unknown. European scholars Many believe that there was in India before, and then spread into Indonesia. Many believe that it came from Egypt or Persia. Although the oldest batik has been discovered in other countries, including Egypt, India and Japan, some believe it. Batik is a traditional Indonesian. And insist that the terminology that calls the batik method and procedure. Is an Indonesian jargon Dye is also available in Indonesia. Wax sticks are also Indonesian. Never been in india The techniques used in Indonesia are higher than those made in India. And from the study of N.J. Kron, a Dutch historian. It is concluded that the Batik sarong or sarong. It is a traditional culture of Southeast Asia before the contact with India. HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn It is written in the book page 1 that although batik is discovered in other lands. Except Indonesia But it is a local characteristic. The finer ways are different. How to make the fabric of the country. To be colorful Indonesian batik pattern would be. Originated in Indonesia itself. It is not transmitted from other countries. The batik fabric is probably originated from Indonesia is quite certain. The evolution of batik in Indonesia Making batik in the first period is only possible among the elite. Or do only in the palace. But there is a contradictory opinion. Probably the most common folk art. Bikinis are often women and are made after free time. In the 12th century, Javanese citizens improved their batik method of color correction. But it evolved from traditional knowledge. In the 13th century, the batik was monopolized by the sultan, and considered batik as art in the royal court. There are women in the royal court as producers. Batik in this era is called "Kardon" (Karton) Batik Tulis, but when Batik is more popular and has many customers. The batik has expanded. The monopoly of the Sultanate family is over. Spread to the general public. Batik in the early stages had only indigo and color.
In the 17th century, the colors of red, brown and yellow were found. Later, they came to know the color of these colors. Later, there was a discovery of purple, green and other colors. In the late 17th century, white linen was imported from abroad. This is a step forward in batik, especially with the use of batik coloring techniques. It can make more Batik fabric and has developed a batik business. In 1830, Europeans imitated Javanese batik and sent it to Java. In the 1940s, the British tried to imitate it. To send to the same island in Java. Since the 19th century, batik printing has been marked in the form of a copper mold, called "cap", which makes it easier to produce batik. The cost of replacing Batik became traditional. Making batik with molds produces native products in the manner of Household industry People started to make batik more professionally. Production of batik from the same women used to be. Men began to help in the production process, especially candle printing and dyeing. The color of the pattern is also used by women. The popularity of using Batik by Java. When used only for women and children. Later it was used. There are 3 types of dresses: 1. Sarong (Sarong). By wrapping around The size of the sarong generally popular. The fabric is 42 inches long, 2 yards long, half to 3 yards half. The so-called "basketball" refers to the so-called fabric head, which has a strikingly different color from the other parts of the fabric itself. 2. Salindang is a fabric worn over a man's trousers. "Cloth" is a fabric that is decorated with ornamental or a slinky male length of about 3 yards wide by 8 inches. Women wear a head cover. 3. Udeng or cloth cover. In general, it is a square. This type of gentleman used a headdress called. For women to use the head cover. And off the chest called "Kemben" (Kemben) fabric is popular as a rectangular frame. This veil does not cover shoulders and shoulders, suitable for farmers who work hard to get it. Animation For the slalom. Later, the size was increased by using fabric width 42 inches long 4-5 yards later was adapted into other costumes. The batik is widely used by both men and women who have tried to improve and develop batik to progress. With other developments It became a favorite product. Foreigners have sold out. This makes batik and batik techniques popular in other countries. Widely In Thailand, the batik cloth was made into candles earlier in 1940 in the district of Sungai Kok. Narathiwat By two Malay-Thai-Malay husband-wife names, Valam Vera Ali and Vayot Vada Ada, in the early days, produced a head cover (Tatoo). lepas) by using carved patterns on sweet potato and cassava to make molds. Later produced in the form of Batik Batik (Batik). Sarong) using metal molds manufactured in Kelantan. Malaysia In the past three years, the Department of Industrial Promotion The Ministry of Industry has taken the role of promoting and disseminating
Basic batik The technical support of the Department. The most commonly used soda as a substance. The northern part of Thailand has been batik for a long time. It is known as batik fiber cannabis dyed with indigo. Only one color by Hmong hill tribe in northern Thailand. Understanding the influence of batik art from southern China. "Batik" (Painting Batik), which is a wicker writing candles (Cantimg), painted on a piece of cloth with a brush. No coloring using REACTIVE DYES from Malaysia. Made in Germany and coated with Sodium Silicate Color is a permanent anti-perspirant by Mr. Ekanan Maranawan is the first to introduce the method of batik fabric to disseminate how to do batik. This is from Malaysia. It was the first lecture given to the faculty of the Department of Art. Faculty of Humanities and Social Sciences Yala Teacher's College (Asst. So rich Since 1980, batik teaching has been taught to Yala Teachers College students in Batik, Pattani and Batik. Trying to make Batik become a coloring And teaching batik is an activity in the elective course of high school cover art majors in 2525 taught batik in the course of folk art. Undergraduate Art Education And later taught in the Batik. Master of Applied Arts Diploma to date Yala Teachers College has disseminated the knowledge of Batik to the community. It is written in articles, newspapers, journals and television channels. Batik and writing patterns. September 1984, Bikini Show And demonstration in the "Krab" in Narathiwat. Organized by the Department of Industrial Promotion. Ministry of industry Performing a batting technique turns out to be a candle coloring. In April 1985, he co-organized the exhibition and demonstration of batik making, writing candles, paintings and batik, which became popular in folk arts and culture throughout Thailand. The first candle came to Phuket, with Chuchart Ravisan (Lung Chu), the head of the Faculty of Fine Arts. Phuket Teacher College was the successor to the Andaman Sea in May 1986. Batik has become the color of art in the country at Chiang Mai College of Art, 1988. And a demonstration of batik writing a candle coloring at Amphorn Garden, Bangkok. They also went to exhibitions. And many times in the metropolis. As a result, Batista became a candlelight painter. It is popular throughout the country to the present.
At present, Our products are made on behalf of local communities. In order to create income, people in the locality have developed the prosperity of the homeland. We use the word team because of unity, harmony, togetherness. Our products are guaranteed by the OTOP and Provincial agencies. We also strive to develop skilled labor force.
And the art continues to exist. Our team of jute fabric is currently managed by
Mr. Jahaze Binjehalee and his daughter Jehasrina Binjehalee
Contact
Facebook Page : ผ้าปาเต๊ะ-สุไหงโกลก Tell. 081-598-6409/ 080-703-4950 เราคือผู้ผลิต
ID Line.0807034950
ID Page 907108012742250
Instagram : handmade_thailand
Google Map : https://goo.gl/maps/4mESZb1N8SR2
Google Map : วิสาหกิจชุมชนผ้าปาเต๊ะบาโงเปาะเล็ง
Youtube : https://www.youtube.com/channel/UC7kCnY8dPrVbleohxdyriqg?view_as=subscriber
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UC7kCnY8dPrVbleohxdyriqg
Twitter : https://twitter.com/BatikThailand
Google+ : https://plus.google.com/u/0/collection/EAV1bB


ความคิดเห็น

ผ้าปาเต๊ะไทย

ปาเต๊ะไทยแลนด์ (ผ้าปาเต๊ะ-สุไหงโกลก) 93